ความเจ็บปวดที่งดงาม และการข้ามผ่านความรู้สึกเจ็บปวด จนได้ลายสักที่ตั้งใจ

ความเจ็บปวดที่งดงาม… คือคำนิยามที่เราจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อพูดถึงการสักลาย เพราะเมื่อเราสามารถผ่านความเจ็บปวดในช่วงที่ช่างเอาสีสักเข้าผิวหนังของเรา และผ่านความอดทนจากการไม่เกาในช่วงแรกๆ ที่เกิดแผลได้ ลายสักจะออกมาสวย และติดทนไปอีกนานเป็นสิบปี

การสักเองก็จัดว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีมาแต่โบราณกาลแล้ว แต่น่าแปลกที่ว่า มันก็เจ็บนะ แต่ทำไมมนุษย์หลายๆ รุ่น ถึงยังได้นิยมกันตราบจนถึงทุกวันนี้ ที่เราอาจพบว่ามีร้านสักเปิดไปทั่วราชอาณาจักรแบบเป็นอะไรที่ไม่ได้เป็นสิ่งที่หาได้ยากขนาดนั้นแล้ว รวมถึงยังมีคนมากหน้าหลายตาอยากมาเรียนที่สถาบันสอนสักลายเพื่อให้ตัวเองได้สักเป็น รวมไปถึงการมารับบริการสักอีกต่างหาก

เจ็บ… แต่เป็นที่นิยม

ความเจ็บปวดคือของขวัญที่เกิดในสิ่งมีชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงมนุษย์อย่างเราๆ ด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเจ็บ นั่นแปลว่าระบบการเอาตัวรอดได้ถูกกระตุ้น ให้เราสู้หรือหนี

ด้วยความเป็นมนุษย์ เราอาจฉลาดกว่าสัตว์ก็ตรงที่ เราสามารถคิดวิธีได้ล้านแปด เพื่อเอาชนะความเจ็บปวด ความยากลำบากที่เราต้องเผชิญ เพราะความเจ็บปวด คอยย้ำเตือนให้เรานั้น…

  1. ความเจ็บปวดทำให้เราจดจำ อะไรที่ทำให้เราเจ็บ เราจะไม่อยากยุ่งกับมันเสียเท่าไหร่ หรือไม่ก็เป็นบทเรียนสำหรับสอนให้เราไม่เจ็บซ้ำเดิมอีก
  2. ก่อนสำเร็จ เราจะเจ็บปวดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวดทางกายหรือใจ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการคิดถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ถ้าเราหาทางรับมือได้ เราจะยินดีกับความสำเร็จเล็กๆ ที่เราสามารถก้าวข้ามมันได้
  3. และเราจะมีความอดทนกับความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่ก้าวผ่านมัน

เป็นเหตุผลที่ว่า เราชอบสักอะไรที่เราอยากจดจำ ลงบนร่างกายของเรา เพราะมันคือความทรงจำที่คอยระลึกถึงอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราสู้เพื่อมัน คติในการดำเนินชีวิต ข้อคิดที่จะเตือนให้เราไม่กลับไปแบบนั้นอีก

เป็นเหตุผลที่ว่า เรารักรอยสักแรกที่สักเสร็จและอดทนรอไม่เกาได้มากมายเหลือเกิน เพราะกว่าจะผ่านมาได้ เราต้องอดทนขนาดไหน ถึงจะได้รอยสักสวยๆ แบบนี้กันนะ ?

เป็นเหตุผลที่ว่า หลายคนรู้สึกเฉยๆ กับการสักครั้งต่อๆ ไป บางคนอาจถึงกับ “เสพติดเข็ม” เพราะมันก็ไม่ได้ทำให้เจ็บขนาดนั้นอีกต่อไปแล้ว ความสามารถในการรับความเจ็บปวดมันสามารถเพิ่มได้ หากเราสามารถอดทนเจ็บปวดได้ซ้ำๆ เหมือนกับการฝึกออกกำลังกายให้มัดกล้ามเนื้อเพิ่ม ก็ต้องเกิดการฉีกขาดบ้างอะไรบ้างนั่นเอง

แล้วถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากๆ ไม่ว่าจะจากการสักลาย หรือจากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตล่ะ ?

ก่อนอื่นขอพูดถึงโพลล์ที่โพสต์ไปที่เพจ Click Art เมื่อไม่กี่วันก่อน

ในบรรดาตัวเลือกทั้งสาม ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงคลอๆ / ช่างชวนคุย / บรรยากาศร้านเงียบๆ นั้น ล้วนทำให้เราเกิดความผ่อนคลายในระดับหนึ่งได้ ในกรณีช่างชวนคุยเรื่องสรรเพเหระทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่สักตรงหน้าเลยล่ะก็ มันเป็นการเบนสมาธิออกจากความเจ็บปวดได้ดีมาก

คีย์หลักสำคัญ คือ “สมาธิ”

นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย หายใจด้วยความสบาย ลดความเจ็บปวดแล้ว ยังทำให้ช่างสักคุมการหายใจของตัวเองจนมือและเส้นนิ่ง (แน่นอนว่าถ้ามาเรียนกับเราในวันแรกๆ ครูของเราจะให้ลองลากเส้นจนกว่าจะนิ่งเลยทีเดียว สิ่งที่ครูจะเน้นย้ำมากๆ คือเรื่องของลมหายใจอีกเช่นกัน)

ร้านสักที่ทำให้เกิดสมาธิ ดีต่อทั้งตัวลูกค้าและช่าง

แน่นอน ว่าเราอาจฝึกสมาธิเองเพิ่มเติมได้ก่อนการสัก หรือแม้กระทั่งตัวช่างสัก หากอยากฝึกก่อนเพื่อให้เก่งในเรื่องของการคุมลมหายใจเพื่อเส้นที่นิ่ง ก็ได้เช่นกัน แถมยังมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้กันไป

เพราะความจริงแล้ว ไม่ใช่แค่การสักที่ขึ้นอยู่บนพื้นฐานของสมาธิและลมหายใจ
แทบจะทุกเรื่อง และทุกอย่างด้วย

หากเราทำอะไรด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย เราจะผ่านมันไปได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ ^_^

อ้างอิง

วิทยาศาสตร์ความเจ็บปวด – NGThai.com
เหตุใดความสำเร็จใหญ่จึงแลกมาด้วยความล้มเหลวนับไม่ถ้วน – MarketingOops.com
สมาธิช่วยลดความเจ็บปวด – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความทรงจำเลวร้าย มักชัดเจนในใจเสมอ – เพจ ตามใจนักจิตวิทยา

เกี่ยวกับผู้เขียน

Ask us ถามเลย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic

    ใช้สำหรับเก็บนับจำนวนผู้เข้าชมไปยัง Google Analytic

บันทึกการตั้งค่า